การพัฒนาระบบประเมินพันธุกรรมจีโนมเพื่อการปรับปรุงพันธุ์โคนมในประเทศไทย

genome 1ในปัจจุบัน เทคโนโลยีการประเมินความสามารถทางพันธุกรรมโคนมในประเทศไทยอยู่บนพื้นฐานของ “การทำนายค่าดีที่สุดโดยไม่มีอคติเชิงเส้น (BLUP; Best Linear Unbiased Prediction)” โดยใช้ข้อมูลลักษณะปรากฎ (Phenotype) ร่วมกับข้อมูลพันธุ์ประวัติ (Pedigree) ของโคนมแต่ละตัว องค์การส่งเสริมโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เป็นหน่วยงานหลักที่ประเมินความสามารถทางพันธุกรรมของโคนมที่ถูกเลี้ยงดูของเกษตรกรที่เป็นสมาชิก และผลิตพ่อพันธุ์โคนมที่มีพันธุกรรมดี ด้วยข้อมูลที่จัดเก็บและบันทึกโดยบุคลากรของตนเอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2539  มาจนถึงปัจจุบัน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยฟลอริดา (ประเทศสหรัฐอเมริกา) “คุณค่าการผสมพันธุ์ (EBV; Estimated Breeding Value)” สำหรับโคนมพันธุ์แท้และลูกผสมแต่ละตัวถูกทำนายโดยใช้แบบจำลองสัตว์หลายลักษณะที่ประยุกต์ใช้สำหรับประชากรสัตว์หลากหลายพันธุ์ของประเทศไทย (Koonawootrittriron et al., 2002) ผลการประเมินเหล่านี้ถูกเผยแพร่และแจกจ่ายให้กับเกษตรกรได้นำไปใช้ประโยชน์ในรูปของหนังสือ “ค่าการผสมพันธุ์โคนม อ.ส.ค.” เป็นประจำทุกปี  อ่านเพิ่มเติม...

ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการจัดทำหนังสือค่าการผสมพันธุ์โคนม

องค์การส่งเสริมกิจการโคนมฯ

 องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย

 ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อพ่อพันธุ์โคนม